ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่ทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกัน เราจึงเห็นหน่วยงาน องค์กร และแบรนด์ระดับโลกก็หันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น มาอัพเดทปัญหาสิ่งแวดล้อม และการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ไทยกัน

ไมโครพลาสติก ภัยร้ายแทรกซึมในชั้นบรรยากาศ

       ไมโครพลาสติกก็เป็นอีก 1 ปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ซึ่งเรามักได้ยินข่าวเกี่ยวกับไมโครพลาสติกที่กระจายไปตามแหล่งน้ำ ปนเปื้อนในสิ่งมีชีวิต และการปนเปื้อนในอากาศ จนทุกวันนี้เราสามารถพบไมโครพลาสติกในที่ที่เราคาดไม่ถึงอย่างเช่นบนเทือกเขาแอลป์

      ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่มนุษย์จะต้องนำปัจจัยเรื่องไมโครพลาสติกเข้ามาพิจารณาร่วมในกระบวนการแก้ไขเพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เศษพลาสติกเล็ก ๆ ซึ่งถูกลมพัดให้กระจายตัวและหมุนเวียนอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น สามารถทำได้ทั้งดูดซับและกระเจิงแสงอาทิตย์ จนมีผลต่อระดับอุณหภูมิในแต่ละภูมิภาคของโลกด้วย
     ยิ่งตอกย้ำว่า อันตรายจากการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะมันอยู่ในอากาศที่เราสูดดมและหายใจเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาของไมโครพลาสติกกำลังเป็นปัญหาระดับโลก และยากที่จะกำจัดออกจากสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นสิ่งที่สามารถทำได้คือการจัดการมลพิษพลาสติกที่แหล่งที่มา หยุดยั้งการเข้าสู่ธรรมชาติตั้งแต่แรก โดยการลดการใช้ ลดการผลิตพลาสติก และกำจัด
อย่างถูกวิธีนั่นเองครับ

Louis Viutton ตั้งเป้ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

Louis Vuitton แบรนด์ระดับโลกออกมาเผยรายงานความคืบหน้าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของแบรนด์เป็นครั้งแรก ซึ่ง Louis Vuitton สามารถใช้วัสดุรียูสและรีไซเคิลในดิสเพลย์ร้านได้
มากถึง 93% และคาดว่าน่าจะเป็นไปตามเป้าที่แบรนด์ตั้งไว้ว่าจะต้องใช้วัสดุรีไซเคิลสำหรับการจัดหน้าร้านให้ได้ 100% ภายในปี 2025

        ด้านพลังงานที่ใช้ในกระบวนการเวิร์กช็อปและจุดขนส่ง ทาง Louis Vuitton ได้ใช้พลังงานหมุนเวียนถึง 69% และร้านค้าของแบรนด์จำนวน 32% จากทั้งหมด ได้เริ่มมาใช้หลอดไฟ LED ประหยัดพลังงานแล้ว ตามมาด้วยวัสดุที่ใช้ในการทำสินค้าลักชัวรีได้รับการรับรองด้านความยั่งยืนไปแล้ว 52%
         เช่นเดียวกับการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ที่ปัจจุบันได้ลดลงไปแล้ว 16% โดยเฉพาะฟิล์มพลาสติกป้องกันฮาร์ดแวร์กระเป๋า หัวเข็มขัด และหน้าปัดนาฬิกา และตั้งเป้าว่า จะงใชให้ได้ทั้งหมดภายในปี 2030 โดยแทนที่ด้วยวัสดุรีไซเคิล รวมไปถึงตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 55% ผ่านการรับรองของหน่วยงานภายใต้องค์กาสหประชาชาติภายในปีเดียวกัน

Passion in this story